1. ความหมายของการสื่อสาร
กองวิจัยทางการศึกษา
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
พิชิต แก้วก๋อง, ชนันว์ ชามทองและอรอำไพ ศรีวิชัย ได้ให้ความหมายการสื่อสารสรุปไว้ว่า
การสื่อสารเป็นพฤติกรรมการติดต่อกันระหว่างมนุษย์ที่อาศัยกระบวนการถ่ายทอดความรู้
ความคิดเห็น เรื่องราวต่างๆของบุคคลตั้งแต่
2 คนขึ้นไป โดยอาศัยสื่อต่างๆ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
2. ความสำคัญของการสื่อสาร
ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์, อุเทน สวัสดิ์ทองและณภัทร
ธนเตชาภัทร์ ได้ให้ความสำคัญของการสื่อสารสามารถสรุปได้ว่า การสื่อสารเป็นพฤติกรรมของคนทุกคน และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่น
ตลอดจนถึงสังคมที่แต่ละคนเกี่ยวข้องอยู่ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ล้วนต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ทั้งสิ้น โดยสภาพสังคมในปัจจุบัน การสื่อสารก็ยิ่งมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมมากขึ้น
หากคนในสังคมขาดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสาร ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับบุคคลกับสังคมทุกวันนี้
มีอยู่ไม่น้อยที่เป็นสาเหตุมาจากความล้มเหลวของการสื่อสาร ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญสำหรับบุคคลและสังคมหลายด้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญ
ก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ
3. องค์ประกอบในการสื่อสาร
ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์และเกรียงศักดิ์ เจดีย์แปง สามารถสรุปองค์ประกอบในการสื่อสาร
ดังนี้
ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคลหรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร
หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่
มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะบอกกล่าว ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนสารสนเทศเพื่อความเข้าใจร่วมกัน
ผู้ส่งสารนี้อาจทำหน้าที่เป็นแหล่งสาร (Sender) และผู้เข้ารหัส (Encoder) ในเวลาเดียวกัน หรือทำหน้าที่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ผู้รับสาร หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคลหรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสารจากผู้ส่งสาร
และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร
ซึ่งได้รับสารที่ถูกส่งมาจากแหล่งสาร
ผู้รับสารจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารเสมอ
กระบวนการสื่อสารจึงจะเกิดขึ้นได้
สาร หมายถึง สิ่งที่ผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสารในรูปของรหัส
ซึ่งอาจเป็นในรูปของสัญญาณ (Signal) หรือสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ผู้รับสารสามารถนำไปถอดรหัสและตีความให้เข้าใจความหมายได้
สัญลักษณ์นี้อาจเป็นคำพูด ตัวหนังสือ รูปภาพ กิริยาท่าทาง เครื่องหมายต่างๆ
ที่ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารออกมา
สื่อ หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะที่นำสารทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร ซึ่งการที่สารจะเดินทางจากแหล่งสารไปยังจุดหมายปลายทางได้นั้น
ต้องประกอบด้วย 3 ประการ ได้แก่ ผู้เข้ารหัส / ผู้ถอดรหัส
ตัวนำสาร หรือสื่อ และช่องทางการสื่อสาร
4. หลักในการสื่อสาร
ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์, อุเทน สวัสดิ์ทองและเกรียงศักดิ์ เจดีย์แปง ได้ให้หลักสำคัญในการสื่อสารสรุปได้ว่า หลักในการสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตาม
จุดประสงค์หรือไม่ ผู้ส่งสารจะต้องมีหลักสำคัญที่จะส่งผลให้การสื่อสารประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและชีวิตประจำวันของบุคคล
ซึ่งหลักสำคัญได้แก่ ความเชื่อถือ ความเหมาะสม เนื้อหาสาระ บ่อยและสม่ำเสมอต่อเนื่อง ช่องทางข่าวสาร ความสามารถของผู้รับสาร และความแจ่มแจ้ง เป็นต้น ซึ่งในหลักสำคัญนำไปสู่หลักในการสื่อสารของบุคคลและสังคมควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร
ดังนี้
1. ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร
และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ
ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร
2. ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร
บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อ
สาร
3. คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง การอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
4. การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
5. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง
6. คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความ หมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร
7. คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
3. คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง การอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
4. การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
5. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง
6. คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความ หมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร
7. คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
5. วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ทัศนีย์
กระต่ายอินทร์, อุเทน สวัสดิ์ทองและเกรียงศักดิ์ เจดีย์แปง ได้กล่าววัตถุประสงค์ของการสื่อสารได้สรุปไว้ว่า
การสื่อสารอยู่ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารของบุคคล ตลอดจนถึงสังคมที่แต่ละคนเกี่ยวข้องอยู่ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด
ล้วนต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ทั้งสิ้น ซึ่งจะสำเร็จได้
ต้องขึ้นอยู่กับทั้งฝ่ายผู้ส่งสารและฝ่ายผู้รับสาร มีความต้องการที่สัมพันธ์กัน
โดยรวมแล้วพอสรุปวัตถุประสงค์การสื่อสารได้ ดังนี้
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร
ผู้ทำการสื่อสารควรมีความต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงเกี่ยวกับข่าวสาร
เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบหรือเข้าใจ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ดียิ่งขึ้น
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
5. เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำ การสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ดียิ่งขึ้น
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
5. เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำ การสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ
6. ประเภทของการสื่อสาร
ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์, เกรียงศักดิ์ เจดีย์แปง, กมลรัฐ
อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก ได้กล่าวประเภทของการสื่อสารได้สรุปไว้ว่า การจำแนกประเภทของการสื่อสาร มีผู้จำแนกไว้หลาย
ๆ ประเภทและลักษณะ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา ตามจุดประสงค์ของการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ
ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. การสื่อสารภายในบุคคล(Intrapersonal
Communication) การสื่อสารของบุคคลคนเดียว
ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยการคิดหรือจินตนาการกับตัวเอง
เป็นการคิดไตร่ตรองกับตัวเอง ก่อนที่จะมีการสื่อสาร ประเภทอื่นต่อไป
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล(Interpersonal
Communication) การสื่อสารเฉพาะหน้า สื่อสารกันในรูปแบบเผชิญหน้า
และหรือทำการสื่อสารระหว่างคนสองคนในลักษณะที่มีสื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารอย่างมีวัตถุประสงค์
เช่นการพูดคุย ปรึกษาหารือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. การสื่อสารกลุ่มย่อย(Small-group)
Communication) การสื่อสารที่มีบุคคลร่วมกันทำการสื่อสารเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันแต่จำนวนไม่เกิน
25 คน เช่นชั้นเรียนขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดเล็ก ฯลฯ
4. การสื่อสารกลุ่มใหญ่(Large-group
Communication) การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก
ตั้งแต่ 25 คนขึ้นไป เช่นภายในห้องประชุมใหญ่ โรงภาพยนตร์ โรงละคร ชั้นเรียนขนาดใหญ่ ฯลฯ
5. การสื่อสารในองค์กร(Organization
Communication) การสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในหน่วยงานโดยบุคคลที่มาติดต่อสื่อสารมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วง เช่นการสื่อสารระหว่าเพื่อนร่วมงาน
เจ้านายกับลูกน้อง
6. การสื่อสารมวลชน(Mass
Communication) การสื่อสารกับคนจำนวนมากในหลายๆพื้นที่พร้อมกัน
โดยใช้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อกลาง
เหมาะสำหรับการส่งข่าวสารไปยังผู้คนจำนวนมากๆในเวลาเดียวกัน
7. การสื่อสารระหว่างประเทศ(International
Communication) การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความแตกต่างกันใน
เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม การเมืองและสังคม โดยบุคคลที่มาติดต่อสื่อสารนั้นจะมีความสัม-
พันธ์ซึ่งกันและกันในเรื่องสำคัญระหว่างความร่วมมือต่างประเทศ
เช่น การสื่อสารทางการทูต การสื่อสารเจรจาต่อรองเพื่อการทำธุรกิจ ฯลฯ
7. ปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสาร
ระวีวรรณ ประกอบผล, ขวัญเรือน กิติวัฒน์, ภัสวดี นิติเกษตรสุนทร, ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์และ
อุเทน สวัสดิ์ทอง ได้กล่าวกับอุปสรรคในการสื่อสารสามารถสรุปไว้ว่า อุปสรรคในการสื่อสารเป็นสิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์
ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร
ซึ่งอาจเกิดขึ้นในทุกขั้นเวลาและขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรคในการสื่อสาร สรุปได้ดังนี้
1) อุปสรรคที่ผู้ส่งสาร ในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสารเพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย
ผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้อย่างเพียงพอ
ถ้าหากผู้ส่งสารขาดความรู้ในเรื่องที่จะส่งแล้ว
ผู้รับสารก็จะขาดความเชื่อถือในตัวผู้ส่งสาร
ซึ่งจะมีผลทำให้การสื่อสารสะดุดหยุดลงและไม่เป็นไรตามเป้าหมายที่ผู้ส่งสารต้องการ ดังนั้นผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้ เพียงพอเกี่ยวกับสารที่ต้องการสื่อมีความสามารถในการถ่ายทอด
มีบุคลิกภาพดีและมีเจตคติที่ดีต่อการสื่อสาร
2) อุปสรรคที่สาร สารที่ยากเกินไป หรือผู้รับสารไม่คุ้นเคยหรือเป็นสารที่ทำให้ผู้รับสารขาดความสนใจสารที่ขัดกับความเชื่อ
ค่านิยมและระบบความคิดของผู้รับสารจะทำให้ผู้รับสารต่อต้านจะทำให้ผู้รับสารต่อต้าน ซึ่งที่ผู้ส่งสารออกไปยังผู้รับสารอาจจะเป็นอุปสรรคของการสื่อสารได้
หากสารนั้นขาดความพอเหมาะพอดีกับกำลังความสามารถในการรับสาร
3) อุปสรรคที่ช่องทางหรือสื่อ
ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่ไม่เหมาะสมเช่น เลือกใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง
เพื่อสอนนาฏศิลป์ไทย ผู้รับสารอาจไม่เข้าใจท่ารำแต่ละท่าได้
ดังนั้น ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่ไม่เหมาะสมก็จะมีผลต่อการสื่อสาร
เช่น
หากผู้รับสารไม่มีความรู้ในการอ่านออกเขียนได้แต่ผู้ส่งสารเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการเผยแพร่ก็จะก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคได้
4) อุปสรรคที่ผู้รับสาร หากผู้รับสารขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่รับผู้รับสารขาดความพร้อมด้วยสาเหตุต่าง
ๆ เช่น ง่วงนอน ป่วย กังวล ผู้รับสารคิดว่าตนมีความรู้มากกว่าผู้ส่งสารหรือรู้เรื่องนั้นดีแล้ว
จะทำให้ไม่สนใจรับสาร
8. ประโยชน์ของการสื่อสาร
อุเทน สวัสดิ์ทอง, นชรี เพชรสงค์และบทเรียนออนไลน์
สามารถสรุปเกี่ยวกับประโยชน์ของการสื่อสาร มีดังนี้
ประโยชน์ในการสื่อสารช่วยให้บุคคลเกิดความรู้สึกที่ดี
เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน โดยลดข้อแย้งที่เกิดความเข้าใจกัน
ส่งผลให้เกิดความสามัคคีจนไปสู่งานบรรลุเป้าหมายของงานต่างๆ
และในปัจจุบันของยุดดิจิทัลของศตวรรษที่ 21
มีคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการสื่อสารด้านต่างได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง มีดังนี้
1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว
การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา
40 นาที
โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว
4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว
4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
5) สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง
โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน
6) การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น
จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้น อาจต่อยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายแต่สามารถให้คอมพิวเตอร์ทุก
เครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง
7) การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มเดี่ยวกันได้
เป็นอย่างดี เช่น สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือ
ในระบบงานเอกสาร ชนิดหนึ่งอาจจะผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน
ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตนเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูล
เอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
บรรณานุกรม
กองวิจัยทางการศึกษา
กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ.(2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนา
ศักยภาพของเด็กไทยด้านทักษะการสื่อสาร.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก. (2547). หลักและทฤษฏีการสื่อสาร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 19
พฤศจิกายน 2558. จาก https://pirun.ku.ac.th/~agrpct/lesson3/com_theory.html
ขวัญเรือน กิติวัฒน์ และ ภัสวดี นิติเกษตรสุนทร. เอกสารการชุดวิชาพฤติกรรมการสื่อสาร
หน่วยที่ 1 – 8 ,
นนทบุรี
: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2542.
ชนันว์ ชามทอง. (2550). การจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์สำหรับ
นักเรียนช่วงชั้นที่ 3.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณภัทร ธนเตชาภัทร์. (2551). ความสำคัญของการสื่อสาร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558.
จาก https://www.l3nr.org/posts/151118
ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์. (2546). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558.
จาก http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content14.html
นชรี เพชรสงค์. (2553). ประโยชน์ของการสื่อสาร . เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558.
จาก https://sites.google.com/site/nudchareeps/page2
บทเรียนออนไลน์. (2555). ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558.
จาก http://poschanunpan.blogspot.com/2012/01/blog-post_5857.html
พิชิต แก้วก๋อง. (2549).
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการ
สื่อสารทางคณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสันหนองควาย. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช. (2543). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย
(Thai1) หน่วยที่ 1 – 8 .
พิมพ์ครั้งที่
9. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ระวีวรรณ ประกอบผล. หลักและทฤษฎีการสื่อสาร.
พิมพ์ครั้งที่ 7 , นนทบุรี :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2542
อรอำไพ ศรีวิชัย. (2555). การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนบ้านเวียงฝาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.