วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนวคิดของการสื่อสาร



1. ความหมายของการสื่อสาร
                กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2542, หน้า 55) ให้ความหมายของการสื่อสารว่า  การสื่อสารเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่อาศัยกระบวนการของการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร  โดยอาศัยเครื่องมือวิธีใดวิธีหนึ่งให้ไปถึงเป้าหมายเพื่อให้มีความเข้าใจร่วมกัน การแสดงออกเพื่อการติดต่อสื่อสารนั้นมนุษย์จำเป็นต้องใช้ภาษาในด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน
                มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2543, หน้า 9 ) ได้ให้ความหมายของการสื่อสารไว้ว่า คือ “การติดต่อกันระหว่างมนุษย์ เพื่อทำให้รับรู้เรื่องราวอันมีความหมายร่วมกันและเกิดการตอบสนองต่อกัน”
                พิชิต  แก้วก๋อง (2549, หน้า 20 ) ) ให้ความหมายของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็น เรื่องราวต่างๆ จากผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน โดยอาศัยเครื่องนำสื่อสารเป็นตัวกลางถ่ายทอด
                ชนันว์  ชามทอง (2550, หน้า 10) ให้ความหมายของการสื่อสารว่า การสื่อสารหมายถึง การติดต่อซึ่งกันและกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร และสามารถตอบสนองได้ตรงตามความต้องการ
                อรอำไพ  ศรีวิชัย (2555, หน้า 11) ให้ความหมายของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นการติดต่อและถ่ายทอดความรู้  ความคิดเห็น ข้อมูลของบุคคลตั้งแต่  2  คนขึ้นไป  โดยอาศัยสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
                จากความหมายของการสื่อสารสามารถสรุปได้ว่า การสื่อสารเป็นพฤติกรรมการติดต่อกันระหว่างมนุษย์ที่อาศัยกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็น เรื่องราวต่างๆของบุคคลตั้งแต่  2  คนขึ้นไป โดยอาศัยสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
2. ความสำคัญของการสื่อสาร
ทัศนีย์  กระต่ายอินทร์ (อ้างใน http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content14
.html ) ได้กล่าวเกี่ยวกับความสำคัญของการสื่อสาร ดังนี้
1) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่มีใครที่ดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อมๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
2) การสื่อสารช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับระเบียบประเพณี กฎเกณฑ์ทางสังคมและความรู้ต่างๆ จำเป็นต้องรับการถ่ายทอดเพื่อให้เป็นมรดกทางสังคมตกลงใช้ร่วมกันอย่างสันติ
3) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งในการสื่อสารจำเป็นต้อง พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและต้องใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การใช้สื่อโสตฯ หรือสื่ออิเล็คทรอนิกส์ในงานสาธารณสุข เป็นต้น
อุเทน  สวัสดิ์ทอง (อ้างใน https://introcommunications.wikispaces.com/) ได้กล่าวเกี่ยวกับความสำคัญของการสื่อสารมีดังนี้
1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
                2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
                3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญ ก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ
ณภัทร ธนเตชาภัทร์ (อ้างใน https://www.l3nr.org/posts/151118) ได้กล่าวความสำคัญของการสื่อสารดังนี้
การสื่อสาร เป็นกระบวนการเกิดขึ้นเป็นปกติวิสัยของคนทุกคน และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่น ตลอดจนถึงสังคมที่แต่ละคนเกี่ยวข้องอยู่ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ล้วนต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ทั้งสิ้น จะเห็นได้จากการที่คนพยายามคิดค้นและพัฒนาวิธีการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน ตลอดจนเครื่องมือหรือเทคนิควิธีการต่างๆ ล้วนเกิดจากความพยายามอย่างสูงของคน ต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุ หากการสื่อสารไม่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งแล้ว เครื่องมือและวิธีการสำหรับการสื่อสารต่างๆ เหล่านี้ก็คงไม่เกิดขึ้นและพัฒนามาให้เห็นดังเช่นในปัจจุบัน


ในสภาพสังคมที่คนจะต้องเกี่ยวข้องกันมากขึ้นเช่นปัจจุบัน การสื่อสารก็ยิ่งมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมมากขึ้น หากคนในสังคมขาดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสาร ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ความคิด หรือทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันได้ ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย ปัญหา ที่เกิดขึ้นกับบุคคลและสังคมทุกวันนี้ มีอยู่ไม่น้อยที่เป็นสาเหตุมาจากความล้มเหลวของการสื่อสาร ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญสำหรับบุคคลและสังคมหลายด้าน คือ
1.  ด้าน ชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวันหนึ่งๆ แต่ละคนจะต้องสื่อสารกับตัวเองและสื่อสารกับผู้อื่นตลอดเวลา นับตั้งแต่เวลาตื่นนอนก็ต้องสื่อสารกับตัวเองและคนอื่นที่อยู่ใกล้ตัว การฟังวิทยุ อ่านหนังสือ ออกจากบ้านไปปฏิบัติภาระกิจประจำวัน ก็ต้องพบปะบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ต้องทำการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา ไม่ในฐานะผู้ส่งสารก็ในฐานะผู้รับสาร หากคนเราขาดความรู้หรือทักษะการสื่อสาร ก็อาจทำให้การปฏิบัติภาระกิจประจำวันอาจบกพร่องได้
2.  ด้าน สังคม การรวมกลุ่มในสังคมทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ จะต้องมีการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในเรื่องต่างๆ มีกระบวนการทำให้คนยอมอยู่ในกฏเกณฑ์กติกาของสังคม มีการถ่ายทอดความรู้และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
3.  ด้าน ธุรกิจอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้า การประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร การบริหารติดต่อประสานงาน การฝึกอบรมพนักงาน การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสาร ฯลฯ กิจการด้านธุรกิจอุตสาหกรรมจะต้องมีการสื่อสารที่ดี จึงจะประสบผลสำเร็จได้
4.  ด้าน การเมืองการปกครอง กิจกรรมด้านการเมืองการปกครองจะต้องใช้การสื่อสารทุกขั้นตอน เช่น การประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล การสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องต่างๆ การบังคับบัญชาสั่งการ การให้บริการประชาชน การชักชวนให้ปฏิบัติตามระเบียบกฏหมายซึ่งล้วนจะต้องใช้เทคนิควิธีการของการ สื่อสารทั้งสิ้น
5.  ด้าน การเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งต้องมีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ เช่น การค้า การทหาร การทำสนธิสัญญา ฯลฯ การมีนักการฑูตประจำในประเทศต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ มีความจำเป็นต้องใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันอยู่เสมอ หากผู้เกี่ยวข้องมีความรู้และทักษะในการสื่อสารเพียงพอ ย่อมสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้
จากความสำคัญของการสื่อสารสามารถสรุปได้ว่า  การสื่อสารเป็นพฤติกรรมของคนทุกคน และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่น ตลอดจนถึงสังคมที่แต่ละคนเกี่ยวข้องอยู่ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ล้วนต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ทั้งสิ้น  โดยสภาพสังคมในปัจจุบัน การสื่อสารก็ยิ่งมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมมากขึ้น หากคนในสังคมขาดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสาร ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับบุคคลกับสังคมทุกวันนี้ มีอยู่ไม่น้อยที่เป็นสาเหตุมาจากความล้มเหลวของการสื่อสาร ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญสำหรับบุคคลและสังคมหลายด้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญ ก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ
3. องค์ประกอบในการสื่อสาร
ทัศนีย์  กระต่ายอินทร์ (อ้างใน http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content14
.html )ได้กล่าวว่าการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีองค์ประกอบดังนี้
1) ผู้ส่งสาร (sender) คือบุคคลที่เริ่มต้นสร้างสารและส่งสารไปยังผู้อื่น โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ ผู้ส่งสารในฐานะผู้เริ่มต้น การสื่อสารจะส่งสารได้อย่างมีประสิทธิผลนั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.1) เป็นผู้มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้ความประสงค์ของตน
1.2) เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสื่อสารเพียงพอ
1.3) เป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ
1.4)เป็นผู้มีความพยายามที่จะเข้าใจความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร
1.5) เป็นผู้รู้จักใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการนำเสนอสาร
                2) สาร (message) เรื่องราวอันมีความหมายและแสดงออกโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ สารประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
                                2.1) รหัสของสาร คือภาษาสัญลักษณ์หรือสัญญาณที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแทนความคิดเช่น ช้างคือสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง มีงวงมีงา ตัวโตว่าสัตว์สี่เท้าทั้งปวง หรือ เสือ คือ สัตว์ป่าสี่เท้ารูปร่างคล้ายแมว ดุร้ายชอบกินสัตว์อื่นเป็นอาหารมีหลายชนิด
                                2.2) เนื้อหาของสาร จะครอบคลุมความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่มนุษย์ต้องการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกัน เนื้อหาของสารอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิต สุขภาพภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ปรัชญาศาสนาเศรษฐศาสตร์กฎหมาย   การเมืองการปกครอง  ศิลปะ  ดนตรี  นาฏศิลป์  วิทยาศาสตร์  คอมพิวเตอร์  การจัดการ ฯลฯเนื้อหาของสารดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ เนื้อหาสารที่แสดงข้อเท็จจริง เนื้อหาสารที่แสดงข้อคิดเห็นหรือทรรศนะและเนื้อหาที่แสดงความรู้สึก
                                2.3) การจัดสาร คือ รูปแบบวิธีการในการนำรหัสสารมาเรียบเรียงเพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหาที่ต้องการ   สารที่ได้รับการจัดอย่างดีทั้งในด้านการเรียบเรียง การลำดับความยากง่าย ตลอดจนรูปแบบและการใช้ภาษาที่ดี จะทำให้สารมีคุณสมบัติในการสื่อสารได้ดี เช่น การจัดสาร เพื่อโน้มน้าวใจในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์การเขียนคำขวัญต้องใช้ภาษาที่เลือกสรรอย่างประณีตเพื่อดึงดูดความสนใจให้จดจำและเกิดการปฏิบัติตามที่ ต้องการนอกจากนี้ บุคลิกลักษณะของผู้ส่งสารยังสัมพันธ์กับการจัดสารคนที่อารมณ์เย็นมักจะพูดจาด้วยวิธีการที่สุภาพ สุขุม เยือกเย็น ขณะที่คนอารมณ์ร้อน มักจะพูดรวบรัด เพื่อให้จบเร็วๆ เป็นต้น
                3) สื่อหรือช่องทาง (media or channel)  เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร สื่อที่มนุษย์ใช้ได้แก่ประสาทสัมผัส  สื่อธรรมชาติ สื่อที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น สื่อสิ่งพิมพ์  IT   สื่อที่ดีจะต้องเป็นสื่อที่เหมาะสมในการสื่อสาร
4) ผู้รับสาร (receiver) ผู้รับสารที่ดีควรทำหน้าที่ตามบทบาทของตนเองและควรพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติดังนี้
4.1) เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดและกระตือรือร้นที่จะรับสาร
4.2) เป็นผู้พยายามรับรู้เรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
4.3) เป็นผู้ที่มีความไหวรู้สึกรวดเร็ว และถูกต้อง
4.4) เป็นผู้ที่มีสมาธิ สามารถบังคับใจให้ให้อยู่ที่เรื่องราวที่กำลังสื่อสาร
เกรียงศักดิ์  เจดีย์แปง (2551, หน้า 8 – 9 ) ได้กล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบของการสื่อสาร มีดังนี้
นิยมเรียกกันตามตัวอักษรว่า S-M-C-R โดยปัจจัยย่อยต่างๆ ขององค์ประกอบ 4 อย่างต่างมีส่วนช่วยให้การสื่อสารได้ผลสมบูรณ์มากขึ้น
S             หมายถึง                                Source                   แหล่งข่าวสาร
M            หมายถึง                                Message                ข่าวสาร
C             หมายถึง                                Channel                 ช่องการสื่อสาร
R             หมายถึง                                Receiver                ผู้รับสาร
การสื่อสารเกิดจากองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ ดังนี้ คือ
ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข่าวสาร ความคิด ทัศนคติเพื่อติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะบอกกล่าว ถ่ายทอด  แลกเปลี่ยนสารสนเทศเพื่อความเข้าใจร่วมกัน ผู้ส่งสารนี้อาจทำหน้าที่เป็นแหล่งสาร (Sender) และผู้เข้ารหัส (Encoder) ในเวลาเดียวกัน หรือทำหน้าที่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ผู้รับสาร หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับสารที่ถูกส่งมาจากแหล่งสาร ผู้รับสารจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารเสมอ กระบวนการสื่อสารจึงจะเกิดขึ้นได้
สาร หมายถึง สิ่งที่ผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสารในรูปของรหัส ซึ่งอาจเป็นในรูปของสัญญาณ (Signal) หรือสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ผู้รับสารสามารถนำไปถอดรหัสและตีความให้เข้าใจความหมายได้ สัญลักษณ์นี้อาจเป็นคำพูด ตัวหนังสือ รูปภาพ กิริยาท่าทาง เครื่องหมายต่างๆ ที่ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารออกมา
สื่อ หมายถึง พาหนะที่นำสารไปสู่ผู้รับ การที่สารจะเดินทางจากแหล่งสารไปยังจุดหมายปลายทางได้นั้น ต้องประกอบด้วย  3  ประการ ได้แก่ ผู้เข้ารหัส / ผู้ถอดรหัส ตัวนำสาร หรือสื่อ และช่องทางการสื่อสาร
จากนักศึกษาหลายท่านได้สรุปองค์ประกอบในการสื่อสาร ดังนี้
ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคลหรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่ มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะบอกกล่าว ถ่ายทอด  แลกเปลี่ยนสารสนเทศเพื่อความเข้าใจร่วมกัน ผู้ส่งสารนี้อาจทำหน้าที่เป็นแหล่งสาร (Sender) และผู้เข้ารหัส (Encoder) ในเวลาเดียวกัน หรือทำหน้าที่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ผู้รับสาร หมายถึง บุคคล  กลุ่มบุคคลหรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสารจากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร  ซึ่งได้รับสารที่ถูกส่งมาจากแหล่งสาร ผู้รับสารจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารเสมอ กระบวนการสื่อสารจึงจะเกิดขึ้นได้
สาร หมายถึง สิ่งที่ผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสารในรูปของรหัส ซึ่งอาจเป็นในรูปของสัญญาณ (Signal) หรือสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ผู้รับสารสามารถนำไปถอดรหัสและตีความให้เข้าใจความหมายได้ สัญลักษณ์นี้อาจเป็นคำพูด ตัวหนังสือ รูปภาพ กิริยาท่าทาง เครื่องหมายต่างๆ ที่ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารออกมา
สื่อ หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะที่นำสารทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร ซึ่งการที่สารจะเดินทางจากแหล่งสารไปยังจุดหมายปลายทางได้นั้น ต้องประกอบด้วย  3  ประการ ได้แก่ ผู้เข้ารหัส / ผู้ถอดรหัส ตัวนำสาร หรือสื่อ และช่องทางการสื่อสาร
4. หลักในการสื่อสาร
ทัศนีย์  กระต่ายอินทร์ (อ้างใน http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content14
.html )สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการสื่อสาร คือ
1) จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสาร การพัฒนาความรู้และทักษะในการสื่อสาร จะสามารถนำไปประยุกต์ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
2) ต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร ได้แก่บริบททางสังคมและวัฒนธรรมบริบททางเวลาบริบททางกายภาพ เช่น การชวนเพื่อนรับประทานอาหารขณะที่เพื่อนเพิ่งกลับจากงานเลี้ยงปฏิกิริยาตอบกลับจะแตกต่างจากการชวนขณะ ที่เพื่อนกำลังหิวข้าว
3) คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) ถ้าผู้สื่อสารใดมีกรอบแห่งการอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น มีการตีความใกล้เคียงหรือตรงกันมากกว่าที่มีกรอบแห่งการอ้างอิงแตกต่างกัน เช่น ผู้ที่เคย บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาจะมองว่าการเล่นกีฬาทำให้เจ็บตัว เสียเวลาและสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ  ขณะที่คนชอบกีฬาจะมองว่าการเล่นกีฬาช่วยรักษาสุขภาพ ผ่อนคลายและมีมิตรมากขึ้น
4) ส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทางที่เหมาะสมถึงผู้ส่งสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมี วัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
5) การเตรียมตัวและการเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น  สะดวกรวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากเกิดอุปสรรคที่จุดใดจุดหนึ่ง
6) ต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษาและสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคลเนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร
7) คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลาเพื่อประเมินผลการสื่อสาร


อุเทน  สวัสดิ์ทอง (อ้างใน https://introcommunications.wikispaces.com/)และ(ภาควิชาภาษาไทย สถาบันราชภัฏเทพสตรี ลพบรี, 2542: 13-14) ได้กล่าวเกี่ยวกับหลักในการสื่อสาร ดังนี้


1. ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร


2. ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อ สาร
              3. คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง การอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
              4. การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
              5. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง
              6. คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความ หมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร
              7. คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
 
 
เกรียงศักดิ์  เจดีย์แปง (2551, หน้า  11) ได้กล่าวเกี่ยวกับหลักสำคัญในการสื่อสาร ดังนี้
1. ความเชื่อถือ (Credibility) การสื่อสารจะได้ผลนั้นต้องมีความเชื่อถือได้ในเรื่องของผู้ให้ข่าวสาร แหล่งข่าว เพื่อให้เกิดความมั่นใจหรือเต็มใจรับฟังข่าวสารนั้น
2. ความเหมาะสม (Context) การสื่อสารที่ดีต้องมีความเหมาะสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมของสังคม  เครื่องมือสื่อสารนั้นเป็นเพียงสิ่งประกอบแต่ความสำคัญอยู่ที่  ท่าที  ท่าทางภาษา คำพูดที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมสังคม หมู่ชน หรือสภาพแวดล้อมนั้นๆ การยกมือไหว้สำหรับสังคมไทย
3. เนื้อหาสาระ (Content) ข่าวสารที่ดี  จะต้องมีความสำคัญสำหรับผู้รับ คือ มีสารประโยชน์แก่กลุ่มชนนั้น  หรือมีสิ่งที่เขาจะได้ผลประโยชน์  จึงจะน่าสนใจ  บางครั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มหนึ่งมาก แต่อาจจะไม่มีสาระสำหรับคนบางกลุ่ม ในเรื่องนี้จึงต้องใช้การพิจารณากลุ่มชนเป้าหมาย
4. บ่อยและสม่ำเสมอต่อเนื่อง (Continuity  and  Consistency) การสื่อสารจะได้ผลต้องส่งบ่อยๆ ติดต่อกัน หรือมีการย้ำหรือซ้ำ  เพื่อเตือนความทรงจำหรือเปลี่ยนทัศนคติและความสม่ำเสมอ เสมอต้นเสมอปลาย มิใช่ข่าวชนิดขาดๆ หายๆ ไม่เที่ยงตรงแน่นอน
5. ช่องทางข่าวสาร (Channels) ข่าวสารจะเผยแพร่ได้ต้องส่งให้ถูกช่องทางของการสื่อสารนั้นๆ โดยมองหาช่องทางที่เปิดรับข่าวสารที่เราจะส่ง และส่งถูกรายงาน กรมกอง หน่วย หรือโดยวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ  ส่งตัวถึงบุคคลโดยตรงจะรวดเร็วกว่า หรือส่งที่บ้านได้รับเร็วกว่าการส่งไปให้ที่ทำงาน เราควรเลือกช่องทางที่ได้ผลรวดเร็วที่สุด
6. ความสามารถของผู้รับสาร (Capability and Audience) การสื่อสารที่ถือว่าได้ผลนั้นต้องใช้ความพยายามหรือแรงงานน้อยที่สุด การสื่อสารจะง่ายและสะดวกก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับของผู้รับซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สถานที่โอกาสอำนวย นิสัยความรู้พื้นฐานที่จะช่วยให้เข้าใจ อรวรรณ  ปิลันธน์โอวาท (2549 : 138) กล่าวว่า ถ้าสารนั้นทำความเข้าใจยากเนื้อหามากสับสน การสื่อสารทางวาจา ทำให้ต้องคอยฟังผู้พูดตลอดเวลาต้องตั้งใจฟังให้เข้าใจในเนื้อหาตั้งแต่เริ่มต้น แต่ถ้าเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถนำมาอ่านทวนซ้ำและทำความเข้าใจในขณะอ่านได้
7. ความแจ่มแจ้ง (Clarity) ข่าวสารต้องง่าย ใช้ภาษาที่ผู้รับเข้าใจคือ ใช้ภาษาของศัพท์ที่ยากและสูง ไม่มีประโยชน์ ควรตัดออกให้หมด  ให้ชัดเจน  เข้าใจง่ายมีความมุ่งหมายเดียวอย่าให้คลุมเครือ หรือมีความหมายหลายแง่ หรือตกหล่นข้อความบางตอนที่สำคัญไป
จากหลักสำคัญในการสื่อสารสรุปได้ว่า หลักในการสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตาม จุดประสงค์หรือไม่ ผู้ส่งสารจะต้องมีหลักสำคัญที่จะส่งผลให้การสื่อสารประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและชีวิตประจำวันของบุคคล ซึ่งหลักสำคัญได้แก่ ความเชื่อถือ  ความเหมาะสม  เนื้อหาสาระ  บ่อยและสม่ำเสมอต่อเนื่อง  ช่องทางข่าวสาร   ความสามารถของผู้รับสาร  และความแจ่มแจ้ง เป็นต้น  ซึ่งในหลักสำคัญนำไปสู่หลักในการสื่อสารของบุคคลและสังคมควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร ดังนี้
1. ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร
2. ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อ สาร
                3. คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง การอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
                4. การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
                5. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง
                6. คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความ หมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร
                7. คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
5. วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ทัศนีย์  กระต่ายอินทร์ (อ้างใน http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content14
.html ) ได้กล่าวเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร
1) เพื่อแจ้งให้ทราบและเพื่อทราบ เช่น แจ้งข่าวสารเรื่องราวข้อมูลต่างๆ
2) เพื่อให้ความรู้หรือเพื่อเรียนรู้   เช่น ความรู้ทางวิชาการ
3) เพื่อเสนอหรือชักจูงใจและเพื่อกระทำและตัดสินใจ  เช่น การจูงใจให้ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ
4) เพื่อให้ความพอใจและเพื่อหาความพอใจ เช่น การฟังเรื่องสนุกสนาน การฟังเพลง
            ในการสื่อสารแต่ละครั้ง ผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจมีวัตถุประสงค์หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น การโฆษณาสินค้า ผู้ส่งสารอาจมีความต้องการให้ผู้รับสารได้ทราบข้อมูลของสินค้าและจูงใจให้ใช้สินค้าไปพร้อมๆ กัน
                อุเทน  สวัสดิ์ทอง (อ้างใน https://introcommunications.wikispaces.com/)และคณาจารย์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551: 17) กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้
                1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
                2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
                3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
                4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
                5. เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำ การสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
                6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น
                เกรียงศักดิ์  เจดีย์แปง (2551, หน้า 8) ได้กล่าวเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ดังนี้
                ด้านผู้ส่งสาร
                1. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง ผู้ส่งสารต้องการแจ้งข่าวสารให้ผู้รับสารทราบหรือเข้าใจ
                2. เพื่อให้ศึกษา หมายถึง ผู้ส่งสารต้องการสอนเรื่องราวที่เป็นวิชาการให้ผู้รับสารได้รับความรู้
                3. เพื่อชักจูงใจ หมายถึง ผู้ส่งสารเสนอข่าวสารชักจูงให้ผู้รับสารปฎิบัติตาม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ หรือพฤติกรรม
                4. เพื่อให้ความบันเทิง ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับสาร เกิดความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจมีอารมณ์ที่ดีและแจ่มใส เป็นการพักผ่อนภายหลังการเคร่งเครียดจากการทำงาน
                ด้านผู้รับสาร
                1. เพื่อทราบ หมายถึง การได้รับข่าวสาร  หรือรับทราบข่าวสารใหม่เพิ่มเติม ต้องการทราบเรื่องราวหรือติดตามข้อมูล เหตุการณ์ ข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทั้งที่มีผลกระทบต่อตนเองและต่อสังคม
                2. เพื่อเรียนรู้ หมายถึง ผู้รับสารต้องการที่จะรู้และทำความเข้าใจในเนื้อหาความรู้วิชาการต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของตนให้สูงมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของตนในอนาคต
                3. เพื่อความพอใจ หมายถึง ผู้รับสารรู้สึกพอใจกับสารที่ได้ มีความสุขสนุกสนานรื่นรมย์ พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียด
                4. เพื่อการกระทำหรือตัดสินใจ หมายถึง ผู้รับสารจะอาศัยความรู้จากข่าวสารต่างๆ มาเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจกระทำการต่างๆ ข่าวสารเหล่านั้นจำเป็นจะต้องเป็นข้อมูลที่มีความละเอียด มีความลึกซึ้งและมีอิทธิพลมากพอที่จะชักจูงใจให้คนเราเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีผลต่อการตัดสินใจได้
                จากวัตถุประสงค์ของการสื่อสารได้สรุปไว้ว่า  การสื่อสารอยู่ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารของบุคคล  ตลอดจนถึงสังคมที่แต่ละคนเกี่ยวข้องอยู่ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ล้วนต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ทั้งสิ้น ซึ่งจะสำเร็จได้ ต้องขึ้นอยู่กับทั้งฝ่ายผู้ส่งสารและฝ่ายผู้รับสาร มีความต้องการที่สัมพันธ์กัน โดยรวมแล้วพอสรุปวัตถุประสงค์การสื่อสารได้ ดังนี้
                1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงเกี่ยวกับข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบหรือเข้าใจ
                2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ดียิ่งขึ้น
                3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
                4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
                5. เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำ การสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
                6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ
6. ประเภทของการสื่อสาร
ทัศนีย์  กระต่ายอินทร์ (อ้างใน http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content14
.html ) ได้กล่าวเกี่ยวกับประเภทของการสื่อสาร ดังนี้
6.1) พิจารณาจากจำนวนผู้ทำการสื่อสารแบ่งออกได้เป็น
1) การสื่อสารภายในบุคคลเป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในตัวของบุคคลคนเดียว เช่น การคิดถึงงานที่จะทำ
2) การสื่อสารระหว่างบุคคล จะประกอบด้วย บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นการสื่อสารในลักษณะกลุ่มย่อย
3) การสื่อสารกลุ่มใหญ่ เป็นการสื่อสารที่ประกอบด้วยคนจำนวนมากทำให้โอกาสที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารแลกเปลี่ยนข่าวสาร กันโดยตรงได้น้อย
                                4) การสื่อสารในองค์การเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกในองค์การ เช่น การสื่อสาร
                ในหน่วยราชการ
5) การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารที่ซับซ้อน ผู้รับข่าวสารมีจำนวนมากอยู่กระจัดกระจายมีจำนวนไม่จำกัดและไม่เป็นที่รู้จักของผู้ส่งสารจึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อที่เป็นสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ ฯลฯ
6.2) พิจารณาจากการเห็นหน้ากัน แบ่งได้เป็น
1) การสื่อสารแบบเฉพาะหน้าเป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถเห็นหน้าและสังเกตกิริยาอาการของกันและกัน
2) การสื่อสารแบบมีสิ่งสะกัดกั้น เป็นการสื่อสารที่ผู้สื่อสารไม่สามารถเห็นหน้ากันเพราะอยู่ห่างไกล
6.3) พิจารณาจากความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร  แบ่งได้เป็น
1) การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ต่างเชื้อชาติ ย่อมมีปัญหามากกว่าการสื่อสารระหว่างชาติเดียวกัน
2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม การสื่อสารชนิดนี้เกิดขึ้นได้ในระหว่างคนที่อยู่ในประเทศเดียวกันหรือคนละประเทศ
3) การสื่อสารระหว่างประเทศเป็นการสื่อสารที่เป็นทางการ  เช่น การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
6.4) พิจารณาจากเนื้อหาวิชา แบ่งได้เป็น 8 กลุ่ม และมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ
1) ระบบข่าวสาร จะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีวิเคราะห์ระบบจึงนำไปประยุกต์ใช้กับการสื่อสาร
2) การสื่อสารระหว่างบุคคล  เป็นการสื่อสารแบบตัวต่อตัว  การสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ  เช่น  การสื่อสารในกลุ่มย่อย
3) การสื่อสารมวลชน จะเกี่ยวข้องกับอิทธิพลของสื่อมวลชน
4) การสื่อสารในองค์การ จะเกี่ยวข้องกับประสิทธิผลและพฤติกรรมของบุคคล ทฤษฎีและ
การวิเคราะห์บทบาทของการสื่อสารในการดำเนินงานขององค์การ
5) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม จะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีและการปฏิบัติในการสื่อสารระหว่างประเทศการเปรียบเทียบระบบการสื่อสารระหว่างประเทศและเชื้อชาติที่แตกต่าง
6) การสื่อสารการเมือง จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ของกระบวนการสื่อสารได้แก่ผู้ส่งสาร
สาร สื่อและผู้รับสารที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมการเมือง
7) การสื่อสารการสอน จะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีและการวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนระบบการสอน
8) การสื่อสารสาธารณสุข จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสื่อสารที่เกี่ยวกับสุขภาพการแก้
ปัญหาสาธารณะสุขด้วยการสื่อสาร เป็นต้น
กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก (อ้างในhttps://pirun.ku.ac.th/~agrpct/lesson3/
com_theory.html) ได้กล่าวโดยสรุปมีดังนี้
1. การสื่อสารภายในบุคคล(Intrapersonal Communication)  การคิดหรือจินตนาการกับตัวเอง เป็นการคิดไตร่ตรองกับตัวเอง ก่อนที่จะมีการสื่อสาร ประเภทอื่นต่อไป
                2. การสื่อสารระหว่างบุคคล(Interpersonal Communication) การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาทำการสื่อสารกันอย่างมีวัตถุประสงค์ เช่นการพูดคุย ปรึกษาหารือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
                3. การสื่อสารกลุ่มย่อย(Small-group) Communication) การสื่อสารที่มีบุคคลร่วมกันทำการสื่อสารเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันแต่จำนวนไม่เกิน 25 คน เช่นชั้นเรียนขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดเล็ก
                4. การสื่อสารกลุ่มใหญ่(Large-group Communication)  การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก เช่นภายในห้องประชุมใหญ่ โรงภาพยนตร์ โรงละคร  ชั้นเรียนขนาดใหญ่
5. การสื่อสารในองค์กร(Organization Communication) การสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในหน่วยงาน เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วง เช่นการสื่อสารระหว่าเพื่อนร่วมงาน เจ้านายกับลูกน้อง               
6. การสื่อสารมวลชน(Mass Communication)  การสื่อสารกับคนจำนวนมากในหลายๆพื้นที่พร้อมกัน โดยใช้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์  นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อกลาง เหมาะสำหรับการส่งข่าวสารไปยังผู้คนจำนวนมากๆในเวลาเดียวกัน
7. การสื่อสารระหว่างประเทศ(International Communication) การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความแตกต่างกันใน เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม การเมืองและสังคม เช่นการสื่อสารทางการทูต การสื่อสารเจรจาต่อรองเพื่อการทำธุรกิจ
                เกรียงศักดิ์  เจดีย์แปง (2551, หน้า  9 ) ได้กล่าวเกี่ยวกับประเภทของการสื่อสาร ดังนี้
                การสื่อสารมีหลายประเภท  ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการพิจารณาเกี่ยวกับสถานการณ์การสื่อสาร โดยทั่วไปเกณฑ์ในการพิจารณาแบ่งประเภทของการสื่อสารมี 5 เกณฑ์ คือ
                1. เกณฑ์จำนวนของผู้ที่ทำการสื่อสาร
                2. เกณฑ์ในเรื่องภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
                3. เกณฑ์การเห็นหน้าค่าตากันระหว่างผู้ที่ทำการสื่อสาร
                4. เกณฑ์ความแตกต่างระหว่างผู้ที่ทำการสื่อสาร และ
                5. ลักษณะของเนื้อหาวิชาที่มีการนำการสื่อสารเข้าไปใช้
                ซึ่งทั้ง 5 เกณฑ์นี้ ได้แบ่งประเภทการสื่อสารออกไปตามลักษณะของเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้
                1. การสื่อสารระหว่างบุคคล
                2. การสื่อสารภายในตัวบุคคล
                3. การสื่อสารกลุ่มใหญ่
                4. การสื่อสารมวลชน และ
                5. การสื่อสารในองค์กร
                1. การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารเฉพาะหน้า  สื่อสารกันในรูปแบบเผชิญหน้า และหรือทำการสื่อสารระหว่างคนสองคนในลักษณะที่มีสื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสาร เช่น การพูดคุยระหว่างคนสองคน การทักทาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้ที่ทำการสื่อสารจะเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร เพื่อสร้างและกระชับความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
                2. การสื่อสารภายในตัวบุคคล หมายถึง การสื่อสารของบุคคลคนเดียว ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร  โดยมีระบบประสาทส่วนกลางเป็นศูนย์กลางในการแบ่งการส่งและการรับข่าวสารภายในตัวของบุคคล ตัวอย่างได้แก่ การรำพึงกับตัวเอง การทบทวนงานต่างๆ ที่ได้เขียนหรือทำมา หรือการร้องเพลงฟังคนเดียว
                3. การสื่อสารกลุ่มใหญ่ หมายถึง การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก ซึ่งมารวมอยู่ในที่เดียวกัน  หรือในที่ที่ใกล้เคียงกัน  โดยการเข้ามารวมกันของคนจำนวนมากนี้  ทำให้ผู้ส่งสารสามารถควบคุมสถานการณ์ได้น้อย เนื่องจากผู้รับสารมีลักษณะในเรื่องความแตกต่างของบุคคลค่อนข้างมาก  การสื่อสารกลุ่มใหญ่อาจปรากฏออกมาในทางสร้างสรรค์ เช่น การฟังอภิปรายการสอนของอาจารย์ที่มีผู้เรียนจำนวนมากๆ หรือการรวบกลุ่มกันในทางที่อาจก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายทางสังคม ที่เรียกว่า การจลาจล เช่น การเดินขบวนประท้วง
                4. การสื่อสารมวลชน หมายถึง การสื่อสารไปยังคนหมู่มากที่อยู่ในสถานที่ต่างกัน และผู้รับสารจะมีคุณลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ อันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน  การส่งข่าวสารให้กับคนจำนวนมากที่มีความแตกต่างกันและอยู่ในที่ที่ต่างกันได้อย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว  ผู้ส่งสารจำเป็นต้องอาศัยสื่อมวลชนที่มีประสิทธิภาพและมีสมรรถนะสูงในการเข้าถึงคนจำนวนมากได้  ประเภทของสื่อจึงแบ่งออกตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ สื่อสิ่งพิมพ์ (Print Media) ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร ภาพถ่าย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อที่รับรู้โดยการฟัง (Audio Media) ได้แก่ เทป วิทยุกระจายเสียง สื่อที่รับรู้โดยการมองเห็น (Visual Media) ได้แก่ หนังสือ ภาพถ่าย สื่อที่รับรู้โดยการฟังและการมองเห็น ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์
                5. การสื่อสารในองค์กร หมายถึง กระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคลในองค์กรทุกระดับ  ทุกหน่วยงาน  โดยบุคคลที่มาติดต่อสื่อสารกันในองค์กรนั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ภายใต้สภาพแวดล้อมบรรยากาศขององค์กร  ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามกาลเทศะและตัวบุคคล ตลอดจนสาระเรื่องราวและวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
                จากประเภทของการสื่อสารได้สรุปไว้ว่า  การจำแนกประเภทของการสื่อสาร มีผู้จำแนกไว้หลาย ๆ ประเภทและลักษณะ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา ตามจุดประสงค์ของการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. การสื่อสารภายในบุคคล(Intrapersonal Communication)  การสื่อสารของบุคคลคนเดียว ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยการคิดหรือจินตนาการกับตัวเอง เป็นการคิดไตร่ตรองกับตัวเอง ก่อนที่จะมีการสื่อสาร ประเภทอื่นต่อไป
                2. การสื่อสารระหว่างบุคคล(Interpersonal Communication) การสื่อสารเฉพาะหน้า  สื่อสารกันในรูปแบบเผชิญหน้า และหรือทำการสื่อสารระหว่างคนสองคนในลักษณะที่มีสื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารอย่างมีวัตถุประสงค์ เช่นการพูดคุย ปรึกษาหารือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
                3. การสื่อสารกลุ่มย่อย(Small-group) Communication) การสื่อสารที่มีบุคคลร่วมกันทำการสื่อสารเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันแต่จำนวนไม่เกิน 25 คน เช่นชั้นเรียนขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดเล็ก ฯลฯ
                4. การสื่อสารกลุ่มใหญ่(Large-group Communication)  การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก ตั้งแต่ 25 คนขึ้นไป เช่นภายในห้องประชุมใหญ่ โรงภาพยนตร์ โรงละคร  ชั้นเรียนขนาดใหญ่ ฯลฯ
5. การสื่อสารในองค์กร(Organization Communication) การสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในหน่วยงานโดยบุคคลที่มาติดต่อสื่อสารมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วง เช่นการสื่อสารระหว่าเพื่อนร่วมงาน เจ้านายกับลูกน้อง      
6. การสื่อสารมวลชน(Mass Communication)  การสื่อสารกับคนจำนวนมากในหลายๆพื้นที่พร้อมกัน โดยใช้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์  นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อกลาง เหมาะสำหรับการส่งข่าวสารไปยังผู้คนจำนวนมากๆในเวลาเดียวกัน
7. การสื่อสารระหว่างประเทศ(International Communication) การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความแตกต่างกันใน เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม การเมืองและสังคม โดยบุคคลที่มาติดต่อสื่อสารนั้นจะมีความสัม-
พันธ์ซึ่งกันและกันในเรื่องสำคัญระหว่างความร่วมมือต่างประเทศ เช่น การสื่อสารทางการทูต การสื่อสารเจรจาต่อรองเพื่อการทำธุรกิจ ฯลฯ
7. ปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสาร
                การสื่อสารในทุกระดับและทุกรูปแบบอาจมีอุปสรรคของการสื่อสารเกิดขึ้นได้เสมอบุคคลผู้กระทำการสื่อสารจึงควรจะต้องตระหนักถึงอุปสรรคของการสื่อสารและพยายามขจัดอุปสรรคของการสื่อสาร ซึ่งมีดังนี้ (ระวีวรรณ ประกอบผล.2542 : 150-152)
            อุปสรรคที่ผู้ส่งสาร
                ในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสารเพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย ผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้อย่างเพียงพอ ถ้าหากผู้ส่งสารขาดความรู้ในเรื่องที่จะส่งแล้ว ผู้รับสารก็จะขาดความเชื่อถือในตัวผู้ส่งสาร ขาดความเต็มใจที่จะรับสารจากผู้ที่ไม่รู้จริง ซึ่งจะมีผลทำให้การสื่อสารสะดุดหยุดลงและไม่เป็นไรตามเป้าหมายที่ผู้ส่งสารต้องการ  นอกจากนี้  หากผู้ส่งสารมีทัศนคติในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ต่อการสื่อสารแล้วก็จะทำให้การสื่อสารเป็นไปโดยราบรื่นได้ยาก เช่น หากผู้ส่งสารมีทัศนคติไม่ดีต่อผู้รับสารก็จะเกิดความไม่เต็มใจในการสื่อสาร  หรือหากผู้ส่งสารมีทัศนคติไม่ดีต่อตนเอง เกิดความไม่มั่นใจก็อาจทำให้เกิดผลในทางลบต่อการสื่อสารได้  ด้วยเหตุนี้  ในการสื่อสารทุกครั้ง  ผู้ส่งสารจึงควรจะต้องมีการเตรียมความพร้อมที่ดีในเรื่องของข้อมูล  ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีเพื่อความสำเร็จในการสื่อสาร
                อุปสรรคที่สาร
                ในกระบวนการสื่อสาร สารที่ผู้ส่งสารออกไปยังผู้รับสารอาจจะเป็นอุปสรรคของการสื่อสารได้  หากสารนั้นขาดความพอเหมาะพอดีกับกำลังความสามารถในการรับสาร  เช่น  ยาวหรือง่ายเกินไปสำหรับผู้รับสาร  สารซึ่งขาดการจัดลำดับเรื่องราวที่ดีพอ  สารที่มีลักษณะสลับซับซ้อนคลุมเครือ ไม่แจ้งชัด  สารที่มีรูปแบบล้าสมัย  ไม่เหมาะกับผู้รับสาร ฯลฯ ล้วนแล้วแต่จะทำให้การสื่อสารไม่ประสบผลได้ นอกจากนี้สารที่มีลักษณะขัดกับความคิดความเชื่อและค่านิยมของผู้รับสารก็อาจจะเป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้
                อุปสรรคที่ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ
                อุปสรรคของการสื่อสารอาจอยู่ที่สื่อหรือช่องทางที่ผู้ส่งสารเลือกใช้  ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่ไม่เหมาะสมก็จะมีผลต่อการสื่อสาร เช่น หากผู้รับสารไม่มีความรู้ในการอ่านออกเขียนได้แต่ผู้ส่งสารเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการเผยแพร่ก็จะก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคได้  ด้วยเหตุนี้การเลือกใช้สื่อจึงต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิด  และยังต้องคำนึงถึงความสะดวก ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของผู้รับสารในการที่จะรับสารจากสื่อที่ผู้ส่งสารเลือกใช้ด้วย
                อุปสรรคที่ผู้รับสาร
อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสารอาจจะเกิดขึ้นจากการที่ผู้รับสารขาดพื้นความรู้ในเรื่องที่ตนจะเป็นผู้รับสาร  การที่จะรับสารได้อย่างเข้าใจแจ่มแจ้งก็เป็นไปได้ยาก  บางครั้งผู้รับสารก็อาจจะสำคัญผิดคิดว่าตนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการสื่อสารมากพอแล้ว  ทำให้เกิดความไม่สนใจไม่ตั้งใจที่จะรับสารหรือเกิดความเข้าใจผิดในสาร  ซึ่งเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยากและเป็นอุปสรรคที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุผล
                ขวัญเรือน  กิติวัฒน์ และภัสวดี  นิติเกษตรสุนทร (2542 : 36-37) ได้กล่าวถึง แหล่งกำเนิดของอุปสรรคของการสื่อสาร ดังนี้
                อุปสรรคที่เกิดจากสิ่งรบกวนด้านกลไก  หมายถึง สิ่งรบกวนภายนอกอันเกิดจากช่องทางการสื่อสาร เช่น วิทยุ เกิดเสียงคลื่นแทรก โทรทัศน์ภาพล้ม  โทรศัพท์เสียงไม่ชัด  ตัวหนังสือในจดหมายเลือน ฯลฯ
                อุปสรรคที่เกิดจากสิ่งรบกวนด้านความหมายของภาษา  หมายถึง  สิ่งรบกวนภายในตัวบุคคลที่เกิดจากการตีความ  การกำหนดความหมายหรือการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระของสาร
                อุปสรรคที่เกิดจากสิ่งรบกวนด้านปัจจัยบุคคล  เกิดจากภูมิหลังทางด้านสังคมของผู้ส่งสารและผู้รับสาร  เกิดจากบุคลิกภาพและจิตวิทยาเฉพาะบุคคล  เกิดจากการขาดทักษะความรู้ในกระบวนการส่งและรับสาร  เกิดจากสถานการณ์และสภาพแวดล้อมในขณะที่ทำการสื่อสารในช่วงเวลาที่ทำการสื่อสารกัน  และอุปสรรคที่เกิดจากสารและสื่อ  หากเนื้อหาสารไม่ได้รับการจัดกระทำให้อยู่ในรูปแบบที่สมบูรณ์ง่ายต่อการเข้าใจ  ประกอบกับสื่อมีข้อบกพร่องบางประการก็ทำให้การสื่อสารล้มเหลวหรือผิดพลาด เช่นกัน
ทัศนีย์  กระต่ายอินทร์ (อ้างใน http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content14
.html ) ได้กล่าวเกี่ยวกับอุปสรรคในการสื่อสาร ดังนี้
7.1) อุปสรรคที่ผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้ เพียงพอเกี่ยวกับสารที่ต้องการสื่อมีความสามารถในการถ่ายทอด มีบุคลิกภาพดีและมีเจตคติที่ดีต่อการสื่อสาร
7.2) อุปสรรคที่สาร สารที่ยากเกินไป หรือผู้รับสารไม่คุ้นเคยหรือเป็นสารที่ทำให้ผู้รับสารขาดความสนใจสารที่ขัดกับความเชื่อ ค่านิยมและระบบความคิดของผู้รับสารจะทำให้ผู้รับสารต่อต้านจะทำให้ผู้รับสารต่อต้าน
7.3) อุปสรรคที่ช่องทางหรือสื่อ ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่ไม่เหมาะสมเช่น เลือกใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง เพื่อสอนนาฏศิลป์ไทย ผู้รับสารอาจไม่เข้าใจท่ารำแต่ละท่าได้
7.4) อุปสรรคที่ผู้รับสาร หากผู้รับสารขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่รับผู้รับสารขาดความพร้อมด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ง่วงนอน ป่วย กังวล ผู้รับสารคิดว่าตนมีความรู้มากกว่าผู้ส่งสารหรือรู้เรื่องนั้นดีแล้ว จะทำให้ไม่สนใจรับสาร
อุเทน  สวัสดิ์ทอง (อ้างใน https://introcommunications.wikispaces.com/) ได้กล่าวโดยสรุปดังนี้
อุปสรรคใน การสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
                1. อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
                                1.1 ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
                                1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
                                1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
                                1.4 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
                                1.5 ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
                                1.6 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
2. อุปสรรคที่เกิดจากสาร
                2.1 สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
                2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
                2.3 สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
                2.4 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
                3.1 การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
                3.2 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
                3.3 การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
4. อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
                4.1 ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
                4.2 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
                4.3 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
                4.4 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
                4.5 ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป
จากอุปสรรคในการสื่อสารได้กล่าวสรุปไว้ว่า อุปสรรคในการสื่อสารเป็นสิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่
บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร  ซึ่งอาจเกิดขึ้นในทุกขั้นเวลาและขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรคในการสื่อสาร สรุปได้ดังนี้
1) อุปสรรคที่ผู้ส่งสาร ในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสารเพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย ผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้อย่างเพียงพอ ถ้าหากผู้ส่งสารขาดความรู้ในเรื่องที่จะส่งแล้ว ผู้รับสารก็จะขาดความเชื่อถือในตัวผู้ส่งสาร ซึ่งจะมีผลทำให้การสื่อสารสะดุดหยุดลงและไม่เป็นไรตามเป้าหมายที่ผู้ส่งสารต้องการ  ดังนั้นผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้ เพียงพอเกี่ยวกับสารที่ต้องการสื่อมีความสามารถในการถ่ายทอด มีบุคลิกภาพดีและมีเจตคติที่ดีต่อการสื่อสาร
2) อุปสรรคที่สาร สารที่ยากเกินไป หรือผู้รับสารไม่คุ้นเคยหรือเป็นสารที่ทำให้ผู้รับสารขาดความสนใจสารที่ขัดกับความเชื่อ ค่านิยมและระบบความคิดของผู้รับสารจะทำให้ผู้รับสารต่อต้านจะทำให้ผู้รับสารต่อต้าน ซึ่งที่ผู้ส่งสารออกไปยังผู้รับสารอาจจะเป็นอุปสรรคของการสื่อสารได้  หากสารนั้นขาดความพอเหมาะพอดีกับกำลังความสามารถในการรับสาร
3) อุปสรรคที่ช่องทางหรือสื่อ ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่ไม่เหมาะสมเช่น เลือกใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง เพื่อสอนนาฏศิลป์ไทย ผู้รับสารอาจไม่เข้าใจท่ารำแต่ละท่าได้  ดังนั้น ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่ไม่เหมาะสมก็จะมีผลต่อการสื่อสาร เช่น หากผู้รับสารไม่มีความรู้ในการอ่านออกเขียนได้แต่ผู้ส่งสารเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการเผยแพร่ก็จะก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคได้
4) อุปสรรคที่ผู้รับสาร หากผู้รับสารขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่รับผู้รับสารขาดความพร้อมด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ง่วงนอน ป่วย กังวล ผู้รับสารคิดว่าตนมีความรู้มากกว่าผู้ส่งสารหรือรู้เรื่องนั้นดีแล้ว จะทำให้ไม่สนใจรับสาร
8. ประโยชน์ของการสื่อสาร
อุเทน  สวัสดิ์ทอง (อ้างใน https://introcommunications.wikispaces.com/) ได้กล่าวโดยสรุปดังนี้
1. งานบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่น
2. เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความสามัคคี
3. เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
4. ลดข้อขัดแย้งที่เกิดจากความไม่เข้าใจกัน
5. ประหยัดทรัพยากรในการทำงาน
6. ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย
7. ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน
นชรี  เพชรสงค์ (อ้างใน https://sites.google.com/site/nudchareeps/page2 ) ได้กล่าวว่าเกี่ยวกับ
ประโยชน์ของการสื่อสารดังนี้
                1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
                2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธี การรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
                3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
                4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

                บทเรียนออนไลน์ (http://poschanunpan.blogspot.com/2012/01/blog-post_5857.html) ได้กล่าวเกี่ยวกับประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล ดังนี้

                ในปัจจุบันความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่คำนึงถึงอย่าง
มาก ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการด้วยกัน คือ
                1.  จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณ
อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้  แผ่นบันทึก
แผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร  สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้นถ้าข้อมูล
ผ่านสายโทรศัพท์ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีก็จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา
40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา มานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
 
             2.  ความถูกต้องของข้อมูล  โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จาก
จุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล  วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูล
ผิดพลาด ก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้
ทำการส่งใหม่ หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
                 3.  ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้
คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูล จากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลฦ
ขนาดใหญ่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว  ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบาย เช่น บริษัท
สายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของ
สายการบิน สามารถทำได้ทันที
 
             4.  ประหยัดต้นทุน  การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล
โปรแกรมการทำงาน  จะทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น
                5.สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง  โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน
                6.การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้น อาจต่อยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายแต่สามารถให้คอมพิวเตอร์ทุก เครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง
                7.การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มเดี่ยวกันได้ เป็นอย่างดี เช่น สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือ ในระบบงานเอกสาร ชนิดหนึ่งอาจจะผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตนเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูล เอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
                จากกล่าวมาสามารถสรุปเกี่ยวกับประโยชน์ของการสื่อสาร  มีดังนี้
                ประโยชน์ในการสื่อสารช่วยให้บุคคลเกิดความรู้สึกที่ดี เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน โดยลดข้อแย้งที่เกิดความเข้าใจกัน ส่งผลให้เกิดความสามัคคีจนไปสู่งานบรรลุเป้าหมายของงานต่างๆ และในปัจจุบันของยุดดิจิทัลของศตวรรษที่ 21 มีคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการสื่อสารด้านต่างได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง มีดังนี้
                1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
                2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
                3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว
                4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
5) สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง  โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน
                6) การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้น อาจต่อยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายแต่สามารถให้คอมพิวเตอร์ทุก เครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง
                7) การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มเดี่ยวกันได้ เป็นอย่างดี เช่น สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือ ในระบบงานเอกสาร ชนิดหนึ่งอาจจะผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตนเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูล เอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น